วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญของกลุ่มปัญญานิยม มีดังต่อไปนี้
1. ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่ม เกสตัลท์ ( Gestalt Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญของทฤษฎีนี้ คือ แมกซ์ เวอร์ไทม์เมอร์ (Max Wertheimer) วุล์ฟแกงค์ โคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) เคิร์ท  คอฟฟ์กา (Kurt Koffka)
2. ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน (Tolman)
3. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เพียเจต์ (Piaget) และ บรุเนอร์ (Bruner)
4. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learnning) ของ ออซูเบล (Ausubel)
5.  ทฤษฎีสนาม (Field Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เคิร์ท เลวิน  (Kurt Lewin) ซึ่งเคยอยู่ในกลุ่มทฤษฎีของเกสตัลท์ และได้แยกตัวออกมาในภายหลัง
6. ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (Cognitive Flexibility Theory)
7. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory) มีนักจิตวิทยาที่สำคัญ คือ รูเมลฮาร์ทและออโทนี่ (Rumelhart and Ortony)
สรุป

 ความแตกต่างระหว่างแนวคิดแบบพฤติกรรมนิยมและปัญญานิยม
เวสท์และคณะ (West and Others, 1991) ได้เสนอถึงความแตกต่างระหว่างทฤษฎีพฤติกรรมนิยมและปัญญานิยมไว้ดังนี้
1. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมุ่งเน้นในเรื่องของพฤติกรรมหรือการกระทําภายนอกซึ่ง
สามารถสังเกตได้ ในขณะที่ทฤษฎีปัญญานิยมมุ่งเน้นถึงสิ่งที่อยู่ภายในสติปัญญา
2. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมุ่งชี้ความสําคัญขององค์ประกอบย่อย ๆ แต่ละส่วนจากส่วน
หนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่งและจากส่วนประกอบต่าง ๆ ไปสู่ภาพรวมหรือวัตถุประสงค์รวมในที่สุด
ในทางกลับกันนั้น ทฤษฎีปัญญานิยมพยายามชี้ในภาพรวมเป็นหลัก จากภาพรวมหรือวัตถุ
ประสงค์รวมไปสู่ส่วนประกอบและตามด้วยการมองจากส่วนประกอบต่าง ๆ ไปสู่ภาพรวมหรือ
วัตถุประสงค์รวมอีกครั้งหนึ่ง
3. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมุ่งเน้นสิ่งที่เป็นรูปธรรมซึ่งสามารถจับต้องได้ ในขณะที่ทฤษฎี
ปัญญานิยมมุ่งเน้นในสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งไม่สามารถจับต้องได้
4. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของความรู้ของมนุษย์ในลักษณะ ของ
สิ่งที่มีอยู่แล้วและรอให้มนุษย์ค้นพบและเรียกกลับมาใช้ใหม่ ในขณะที่ทฤษฎีปัญญานิยมมีความ
เชื่อเกี่ยวกับเรื่องของความรู้ในลักษณะของสิ่งที่มนุษย์จําเป็นต้อง สร้างให้เกิดขึ้นและหากต้องนํา
ความรู้กลับมาใช้อีกก็จําเป็นจะต้องมีการสร้างขึ้นมาใหม่
5. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเปรียบเทียบกับจิตใจมนุษย์เป็นเสมือนโรงงานประกอบชิ้น
ส่วนต่าง ๆ ซึ่งหมายถึงความเชื่อที่ว่าสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจมนุษย์นั้นเกิดจากการ ประกอบขึ้นของ
มนุษย์นั่นเอง ไม่มีความสลับซับซ้อน ชิ้นส่วนในการประกอบเป็นอย่างไรผลผลิตที่ได้ก็จะเป็น
เช่นนั้น ในขณะที่ทฤษฎีปัญญานิยมเปรียบเทียบจิตใจเป็นเสมือนคอมพิวเตอร์ซี่งหมายถึง ความ
เชื่อที่ว่าสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจมนุษย์นั้นเกิดจากการประมวลผลภายในซึ่ง มีการทํางานที่สลับซับ
ซ้อนและยากแก่การทําความเข้าใจ
6. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมุ่งเน้นในผลลัพธ์ ในขณะที่ทฤษฎีปัญญานิยมมุ่งเน้นในกระบวนการ
การประยุกต์ใช้ ในการจัดการเรียนการสอน
                สามารถประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ตามความเชื่อของนักจิตวิทยาตามทฤษฎีกลุ่มนี้ มีความเชื่อว่า  มนุษย์มีความแตกต่างกัน   ทั้งในด้านความรู้สึกนึกคิด  อารมณ์ความสนใจและความถนัดในแต่ละคน      ดังนั้นในการเรียนรู้ก็ต้องมีกระบวนการและขั้นตอนที่แตกต่างกัน   ครูผู้สอนไม่จำเป็นต้องเสนอเนื้อหาทั้งหมดสามารถเสนอเนื้อหาทั้งหมดที่สมบูรณ์ ควรเสนอบางส่วน  ผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมมาเติมให้สมบูรณ์ การเสนอเนื้อหาของครูผู้สอน ควรมีความต่อเนื่อง  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากขึ้น  การเสนอความคิดรวบยอดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นจะช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย
การนำทฤษฎีปัญญานิยมมาประยุกต์ใช้ในการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้แก่ การใช้เทคนิคการสร้างความสนใจแก่ผู้เรียนก่อนเริ่มเรียน คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนในแง่ของการเลือกเนื้อหาการเรียน กิจกรรมการเรียน  การควบคุมด้วยตนเองก่อน หลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น