วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอ

การนำเสนอ  หรือเรียกตามศัพท์ภาษาอังกฤษว่าการพรีเซ้นท์  (Presentation)  เป็นการบรรยาย  หรือนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้ฟังโดยอาจมีอุปกรณ์ประกอบการบรรยายหรือไม่ก็ได้  อดีตการเตรียมงานนำเสนอแต่สักชิ้นต้องเตรียมตัวกันมากพอสมควร  ตัวอย่างง่ายๆ  ได้แก่  การบรรยายหน้าชั้นเรียนของอาจารย์ผู้สอน  การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการนำเสนอค่อนข้างยุ่งยาก  เริ่มจากการเตรียมเนื้อหา  นำภาพมาประกอบ  นำข้อมูลที่มีเขียนลงบนแผ่นสไลด์  (หรือเขียนบนแผ่นใส)  และบางครั้งอาจมีการอัดเสียงประกอบการบรรยายร่วมด้วย
          สิ่งที่เป็นปัญหาและเกิดขึ้นบ่อยมากคือ  การแก้ไข  หากต้องการแก้ข้อความ  เปลี่ยนรูป  เราต้องหาน้ำยาลบข้อความ  หรือบางครั้งสีปากกาไม่ตรงกับสีที่มีอยู่ในสไลด์เดิม  หรือหากมีการเปลี่ยนลำดับการนำเสนอ  ก็ต้องไปตามแก้เสียงประกอบที่อัดไว้  และยังมีปัญหาอื่นๆ  อีกจิปาถะ
          เมื่อมาสู่ยุคดิจิตอล  ยุคที่มือถือเป็นที่นิยมของทั้งเด็กและผู้ใหญ่  คอมพิวเตอร์มีบทบาทช่วยในการจัดเตรียมงานนำเสนอ  ไม่ต้องวุ่นวายกับการตกแต่งสไลด์และเรื่องจุกจิกของเครื่องฉายสไลด์อีกต่อ ไป  เพราะคอมพิวเตอร์สามารถสร้างงานนำเสนอแบบเบ็ดเสร็จในเวลาไม่นานนัก 
          ต่างจากการเตรียมงานนำเสนอแบบเดิมอาจต้องใช้เวลาเป็นวันๆ เราสามารถต่อทีวีหรือจอภาพขนาดใหญ่  โดยที่ไม่ต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรมากนัก  เพียงนำสายจากคอมพิวเตอร์ต่อเข้าทีวีจอยักษ์  ผู้ฟังเป็นร้อยก็สามารถเห็นงานนำเสนอได้ชัดเจนไม่ผิดเพี้ยน  ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดอีกประการหนึ่งก็คือ  เราสามารถใช้ระบบมัลติมีเดียที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์มาช่วยเพิ่มสีสันในงานนำ เสนอของเราได้  อาทิเช่น  สั่งให้เปิดเพลงแดนซ์  เปิดภาพยนตร์ประกอบการบรรยาย  หรือสั่งให้ตัวอักษรวิ่งวนไปมาพร้อมเสียงดังกระหึ่ม  สิ่งเหล่านี้เป็นแรงดึงดูดมหาศาลที่ทำให้ผู้ฟังตราตรึงกับงานนำเสนอได้อย่าง มาก
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล มีจุดประสงค์หลักๆ ดังนี้
1. เป้าหมายคือ การนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการคิด การตัดสินใจ ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ              
2.ผู้รับข้อมูลอาจเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย จนถึงกลุ่มใหญ่                                           
3. มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อเน้นความรู้และทัศนคติ
4. เป็นลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว
5. ใช้มากในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์งานด้านธุรกิจ
6. อาจต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เพื่อเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อน หรือเพื่อต้องการให้ผู้ชมได้ชื่นชม และคล้อยตาม
7. เน้นโครงสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นต้น ไม่ตรวจสอบความรู้ของผู้รับข้อมูล
8. โปรแกรมส่วนมากจะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือผู้นำเสนอ
จากที่ได้ศึกษาข้อมูล เรื่อง สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอ การใช้คอมพิวเตอร์สื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟ ภาพศิลป์ เสียง ภาพเคลื่อนไหวและวิดีทัศน์ เป็นต้น ถ้าผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ให้แสดงออกมาตามต้องการได้ ระบบนี้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์(Interactive Multimedia)”การนำเสนอ หรือเรียกตามศัพท์ภาษาอังกฤษว่า    การพรีเซ้นท์  (Presentation) เป็นการบรรยาย หรือนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้ฟังโดยอาจมีอุปกรณ์ประกอบการบรรยายหรือไม่ก็ได้  อดีตการเตรียมงานนำเสนอแต่สักชิ้นต้องเตรียมตัวกันมากพอสมควร  ตัวอย่างง่ายๆ  ได้แก่  การบรรยายหน้าชั้นเรียนของอาจารย์ผู้สอน  การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการนำเสนอค่อนข้างยุ่งยาก  เริ่มจากการเตรียมเนื้อหา  นำภาพมาประกอบ  นำข้อมูลที่มีเขียนลงบนแผ่นสไลด์  (หรือเขียนบนแผ่นใส)  และบางครั้งอาจมีการอัดเสียงประกอบการบรรยายร่วมด้วย สิ่งที่เป็นปัญหาและเกิดขึ้นบ่อยมากคือ  การแก้ไข  หากต้องการแก้ข้อความ  เปลี่ยนรูป  เราต้องหาน้ำยาลบข้อความ  หรือบางครั้งสีปากกาไม่ตรงกับสีที่มีอยู่ในสไลด์เดิม  หรือหากมีการเปลี่ยนลำดับการนำเสนอ  ก็ต้องไปตามแก้เสียงประกอบที่อัดไว้  และยังมีปัญหาอื่นๆเมื่อมาสู่ยุคดิจิตอล ยุคที่มือถือเป็นที่นิยมของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ คอมพิวเตอร์มีบทบาทช่วยในการจัดเตรียมงานนำเสนอ ไม่ต้องวุ่นวายกับการตกแต่งสไลด์และเรื่องจุกจิกของเครื่องฉายสไลด์อีกต่อไป เพราะคอมพิวเตอร์สามารถสร้างงานนำเสนอแบบเบ็ดเสร็จในเวลาไม่นานนัก  ต่างจากการเตรียมงานนำเสนอแบบเดิมอาจต้องใช้เวลาเป็นวันๆเราสามารถต่อทีวีหรือจอภาพขนาดใหญ่ โดยที่ไม่ต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรมากนัก เพียงนำสายจากคอมพิวเตอร์ต่อเข้าทีวีจอยักษ์ ผู้ฟังเป็นร้อยก็สามารถเห็นงานนำเสนอได้ชัดเจนไม่ผิดเพี้ยน ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดอีกประการหนึ่งก็คือ เราสามารถใช้ระบบมัลติมีเดียที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์มาช่วยเพิ่มสีสันในงานนำเสนอของเราได้ อาทิเช่น สั่งให้เปิดเพลงแดนซ์ เปิดภาพยนตร์ประกอบการบรรยายหรือสั่งให้ตัวอักษรวิ่งวนไปมาพร้อมเสียงดังกระหึ่ม สิ่งเหล่านี้เป็นแรงดึงดูดมหาศาลที่ทำให้ผู้ฟังตราตรึงกับงานนำเสนอได้อย่างมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น